การร่วมแรงร่วมใจกันทำงานกับการทำงานเป็นทีม Collaboration and Teamwork
การร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน หมายถึง เป็นกระบวนการที่วนเกิดขึ้นซ้ำๆระหว่างกลุ่มคนหรือองค์กรที่ทำงานร่วมกันเพื่อไปสู่เป้าหมายขององค์กรที่ตั้งใว้ โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างข้อตกลง ตัดสินใจ แก้ไขปัญหาร่วมกัน อีกทั้งยังมีการร่วมใจ ทัศนคติ ความตั้งใจ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานร่วมกัน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
การทำงานเป็นทีม หมายถึง การที่คนหรือกลุ่มคนที่ใช้ทักษะความสามารถมาทำงานร่วมกัน เพื่อเป้าหมายเดียวกันในกลุ่มหรือในทีม ซึ่งการทำงานเป็นทีมเป็นหนึ่งในกระบวนการการทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจกัน
ความเหมือนและแตกต่างระหว่างการทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจกันทำงานกับการทำงานเป็นทีม
1. การทำงานเป็นทีมเป็นการจัดตั้งกลุ่มคนขึ้นมาทำงานร่วมกัน แต่ละคนในทีมอาจทำหน้าที่แตกต่างกันในกลุ่มแต่เพื่อเป้าหมายเดียวกันของกลุ่ม ในขณะที่การทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจกันเป็นการประสานงานกันระหว่างกลุ่มหรือทีมเพื่อเป้าหมายหลักโดยรวมขององค์กรมีการตัดสินใจในการทำงานร่วมกันนอกเหนือจากการทำหน้าที่ของตนองให้เสร็จสมบูรณ์
2. หัวใจสำคัญของการทำงานเป็นทีมคือผู้นำ แต่หัวใจของการทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจกันคือความสัมพันธ์ของคนในกลุ่ม ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่จำเป็นต้องมีผู้นำ
ระดับของการทำงานร่วมกัน Collaborative Levels
1. Conversation การติดต่อพูดคุย ทำความเข้าใจระหว่างกันทั้งสองฝ่าย
2. Communication การติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
3. Coordination การติดต่อประสานงาน มีกิจกรรมทำงานร่วมกัน
4. Cooperation ความร่วมมือ มีกิจกรรมทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ
5. Collaboration การทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจกัน
5 ขั้นตอนในการพัฒนากลุ่ม (Stages of Team Development) Tuckman 1965
1. ขั้นเริ่มก่อตัว (Forming Stage) สมาชิกภายในกลุ่มพยายามทำความรู้จักซึ่งกันและกัน ทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับเป้าหมายของกลุ่ม กำหนดกฎเกณฑ์เบื้องต้นของกลุ่ม
2. ขั้นโกลาหล (Storming Stage) แต่ละคนมีความเป็นส่วนตัวสูง ยังไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน เกิดความชุลมุนวุ่นวาย มีความขัดแย้งภายในกลุ่ม สมาชิกจะขัดขืนไม่ยอมถูกควบคุมโดยกลุ่ม และอาจไม่เห็นด้วยว่าใครจะเป็นผู้นำ
3. ขั้นกำหนดกฎเกณฑ์ (Norming Stage) สมาชิกเริ่มรู้สึกว่าตนเป็นสมาชิกของกลุ่มอย่างแท้จริง เกิดความผูกพันร่วมมือร่วมใจกัน มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน ตกลงกันได้ถึงมาตรฐานกฎเกณฑ์ของกลุ่มที่จะใช้เป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันภายในกลุ่ม
4. ขั้นการปฏิบัติงาน (Performing Stage) กลุ่มพร้อมจะลงมือปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย มีความสัมพันธ์ที่ดีรวมทั้งการยอมรับความเป็นผู้นำของหัวหน้ากลุ่ม และมีบรรยากาศของความใว้เนื้อเชื่อใจกันและกัน
5. ขั้นสลายตัว (Adjourning Stage) ภายหลังการปฏิบัติงานจนบรรลุเป้าหมายแล้ว กลุ่มก็ต้องสลายตัวแยกย้ายกันไปแต่อาจทำงานร่วมกันได้อีกในอนาคต
การเพิ่มคุณค่าทางธุรกิจโดยอาศัยการทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจกัน
- Productivity ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตของาน เพิ่มการปฏิสัมพันธ์และความผูกพันต่อองค์กรของคนทำงานในองค์กร
- Innovation ช่วยให้เกิดนวัตกรรม จากกลยุทธ์ในการทำงานที่ไปในทิศทางเดียวกันและมีความยืดหยุ่นในการทำงานของค์กร
- Growth ช่วยให้องค์กรเจริญเติบโตเนื่องจากมีการสร้างความพึงพอใจและความภักดีจากลูกค้า ด้วยรูปแบบธุรกิจแบบใหม่ๆโดยอาศัยเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน
ระบบการทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจกันภายในองค์กร Enterprise Collaboration System (ECS)
เครื่องมือที่จะช่วยให้เกิดการทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจกันคือสิ่งที่ช่วยสนับสนุนให้คนเกิดการทำงานร่วมกัน ในอดีตเราอาจใช้ กระดาษ เอกสารเป็นเครื่องมือในการทำงานร่วมกัน แต่ในยุคปัจจุบันเราได้นำเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และระบบโปรแกรมต่างๆมาใช้เป็นระบบระบบการทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจกันภายในองค์กร Enterprise Collaboration System (ECS) ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลักๆได้แก่
- Electronic Communication Tools เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร เช่น อีเมล์ การส่งข้อความ ข้อความเสียง แฟกซ์ หรือผ่านเว็บ ฯลฯ
- Electronic Conferencing Tools เทคโนโลยีในการปรึกษาหารือ เช่น การประชุมสาย วิดิโอ conference Forums หรือ เว็บบอร์ด การประชุมผ่านระบบอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ ฯลฯ
- Collaborative Work Management Tools เครื่องมือที่สนับสนุนการทำงานร่วมกัน เช่น ปฏิทิน ตารางงาน ระบบการไหลผ่านของข้อมูล ระบบการจัดการความรู้ ระบบการจัดการข้อมูลและโครงการ ฯลฯ
No comments:
Post a Comment